Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

การดูแลผู้ป่วยเอดส์อย่างถูกวิธี และการป้องกันตัวเอง

วันที่: 2011-09-11 11:15:31.0

การดูแลผู้ป่วยเอดส์อย่างถูกวิธี ดีหลายๆ

 

         เมื่อสมัยก่อนใครที่มีญาติเป็นโรคเอดส์จะต้องปิดข้อมูลมิให้ใครรู้เพราะสังคม รังเกียจ ญาติใกล้ชิดก็รังเกียจกลัวติดโรคทำให้ผู้ป่วยหมดที่พึ่ง เป็นโรคก็น่าเห็นใจแล้วแต่สังคมยังรังเกียจทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจ ปัจจุบันสังคมยอมรับมากขึ้นทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะมีชีวิตประกอบกับความ รู้เกี่ยวกับโรคนี้มีเพิ่ม การค้นพบยาต้านไวรัสเอดส์ใหม่ๆทำให้ผู้ป่วยมีอายุนานขึ้น หากท่านมีญาติหรือคนรู้จักติดเชื้อ HIV ท่านต้องอ่านเพื่อที่จะไปดูแลผู้ป่วยให้มีสุขภาพที่ดีและมีอายุยืนนานขึ้น การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV เป็นความเครียดทั้งผู้ที่เป็นและผู้ดูแล ท่านต้องเข้าใจผู้ป่วยและท่านต้องติดตามความรู้เกี่ยวกับโรคนี้เนื่องจากมี การเปลี่ยนแปลงการรักษาและการดูแล
สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์


ท่านจะต้องรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์รายละเอียดท่านสามารถคลิกที่นี่

 

การดูแลผู้ป่วย
         ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์หรือติดเชื้อ HIV ต้องการพึ่งตัวเอง ท่านต้องให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ป่วยสามารถกำหนดตารางการทำงาน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ การผักผ่อน หากผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้อย่างเคร่งคัดก็จะสามารถมีสุขภาพที่ดี ต้องให้ผู้ป่วยหยุดสุรา บุหรี่ และยาเสพติด

  • ต้องให้ผู้ป่วยอยู่อย่างส่วนตัว
  • พยายามให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองให้มากที่สุดโดยเฉพาะการอาบน้ำ การรับประทานอาหาร
  • ห้องที่อยู่ควรจะสะอาด แสงเข้าถึง
  • ห้องที่อยู่ควรอยู่ใกล้ห้องน้ำ
  • จัดทิสชู่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าไว้ใกล้กับผู้ป่วยเมื่อจะหยิบใช้
  • หากผู้ป่วยไม่เดินให้พยายามพลิกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมง

แผลกดทับ

         ผู้ป่วยที่นอนอยู่กับที่จะเกิดแผลกดทับโดยมากมักจะเกิดบริเวณก้น ส้นเท้า สะบัก หรือบริเวณที่กดทับนานเกินสองชั่วโมง วิธีป้องกันอาจจะใช้เตียงลมหรือเตียงน้ำ เตียงลมจะมีมอเตอร์เป่าลมเข้าไปและจะเลื่อนตำแหน่งที่กดทับ อาจจะใช้แผ่น gel หรือ form รองบริเวณที่กดทับ ผ้าปูเตียงต้องแห้งไม่มีรอยย่น ต้องมั่นนวดบริเวณที่กดทับเช่น ก้น สะโพก ข้อศอก ส้นเท้า หากพบว่าผิวหนังเริ่มมีรอยแดงหรือมีแผลต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

การออกกำลังกาย
         แม้ว่าผู้ป่วยที่นอนบนเตียงก็สามารถออกกำลังกายได้ โดยการที่ผู้ดูแลขยับแขน ขา ข้อทุกข้อ ให้ขยับให้มากที่สุด เพื่อป้องกันข้อติด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อเยื่อป้องกันแผลกดทับ

การหายใจ

         หากผู้ป่วยหายใจลำบากก็ให้ผู้ป่วยนั่งเอาหมอนพิงหลัง(เตียงแบบของโรงพยาบาล) และหากมีเสมหะ ซึ่งไม่สามารถไอออกมาก็ช่วยโดยการเคาะปอดและดูดเสมหะ

การป้องกันการติดเชื้อ

         เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงติดเชื้อได้ง่าย ผู้ดูแลจำเป็นต้องป้องกันผู้ป่วยมิให้รับเชื้อโรคซึ่งมีวิธีการดังนี้

  1. การ ล้างมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำลายเชื้อโรคให้ล้างมือบ่อยๆ ล้างมือหลังจากเข้าห้องน้ำ ล้างมือก่อนทำอาหาร ก่อนป้อนอาหาร ก่อนอาบน้ำให้ผู้ป่วย ต้องล้างมือทุกครั้งเมื่อจามหรือไอ หรือเอามือจับจมูก ปาก อวัยวะเพศ เมื่อคนดูแลเปลื้อนเลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิจะต้องล้างมือทันที วิธีการล้างให้ล้างด้วยน้ำอุ่นและสบู่ 15 วินาที
  2. ปิด แผลของท่าน ถ้าท่านมีแผล หรือตุ่มน้ำที่ผิวหนังหรือการอักเสบที่ผิวหนังต้องระวังเป็นพิเศษที่จะนำ เชื้อไปติดผู้ป่วยและอาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วย ท่านมีแผลต้องใช้พลาสเตอร์ปิดแผลสวมถุงมือ
  3. แยก คนไม่สบายออกจากผู้ที่ติดเชื้อ หากมีสมาชิกในครอบครัวปวดเป็นไข้หวัดหรือโรคอื่น ต้องแยกจากผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องสวมหน้ากากปิดปากและจมูก
  4. ห้าม คนไข้สุกใส เข้าใกล้ผู้ป่วย ไข้สุกใสอาจจะทำให้ผู้ป่วย HIV เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้สุกใสต้องไม่อยู่ห้องเดียวกับผู้ป่วยจนกระทั่งผื่นแห้ง สำหรับผู้ที่สัมผัสผู้ป่วยที่เป็นไข้สุกใส หากจะไปเยี่ยมผู้ที่ติดเชื้อ HIV ต้องหลัง 3 สัปดาห์ ผู้ที่เป็นงูสวัดก็ไม่ควรเยี่ยมผู้ป่วยติดเชื้อ HIV และถ้าท่านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใส และท่านต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ท่านต้องสวมหน้ากากปิดปากปิดจมูก ล้างมือก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนไข้ และอยู่ในห้องคนไข้ให้น้อยที่สุด ถ้าหากผู้ที่ติดเชื้อ HIV สัมผัสผู้ป่วยไข้สุกใสหรือโรคงูสวัด ต้องแจ้งแพทย์ทราบทันที
  5. สมาชิก ของผู้ที่ติดเชื้อ HIV ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคติดต่อไปยังผู้ป่วย และเพื่อให้แน่ใจอาจจะต้องฉีดกระตุ้นอีกครั้ง วัคซีนที่ต้องฉีดคือ หัด, หัดเยอรมัน, คางทูม สำหรับวัคซีนป้องกันโปลิโอต้องใช้ชนิดที่เชื้อตายแล้วเท่านั้น
  6. ระวัง สัตว์เลี้ยงและการทำสวน แม้ว่าการเลี้ยงสัตว์จะให้ความสุขกับผู้ป่วย แต่สัตว์ก็สามารถนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยได้ ผู้ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ควรจะสัมผัสกับกรง กระบะอาหาร อุจาระของสัตว์ น้ำสำหรับเลี้ยงปลา หากผู้ป่วยต้องสัมผัสสัตว์ต้องล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้ง สำหรับผู้ที่ทำความสะอาดกรง หรือกระบะอาหารควรจะสวมถุงมือทุกครั้งและล้างมือทันที สัตว์ที่เลี้ยงก็ต้องหมั่นฉีดวัคซีนและตรวจสุขภาพเป็นประจำ เชื้อโรคสามารถพบได้ในดิน ดังนั้นต้องสวมถุงมือทุกครั้งที่ทำสวน
  7. การ ซักรีด เสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนสามารถซักร่วมกับคนปกติได้โดยใช้ผงซักฟอกธรรมดา แต่ผ้าที่เปื้อนเลือด อุจาระ ปัสสาวะ น้ำอสุจิ ให้ใช้ถุงมือจับใส่ถุงพลาสติกแยกไว้ต่างหากและล้างด้วยน้ำธรรมดาเพื่อล้าง เลือดออกก่อน จึงค่อยซักธรรมดาไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อ HIV เพราะการซักธรรมดาก็ฆ่าเชื้อได้ สำหรับเครื่องเรือนที่เปื้อนเลือดให้สวมถุงมือแล้วใช้น้ำสบู่ล้างออก
  8. การ ทำความสะอาดบ้าน ทำความสะอาดอ่างล้างหน้า ฝักบัว บ่อยๆโดยใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ พื้นบ้านต้องล้างอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โถส้วมให้ล้างบ่อยๆโดยใช้น้ำยาธรรมดาล้างทำความสะอาด
  9. อาหาร ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV สามารถรับประทานอาหารทุกชนิดยิ่งมากยิ่งดี และควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย แต่ก็มีข้อที่ต้องระวังคือ
  • ห้ามดื่มนมที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ
  • ห้ามรับประทานไข่ดิบ เช่น mayonnaise, hollandaise sauce, ice cream, fruit drinks
  • เนื้อสัตว์ต้องทำให้สุกโดยไม่พบเนื้อแดงในอาหาร
  • ไม่รับประทานปลาหรือหอยสุกๆดิบๆ
  • สำหรับคนเตรียมอาหารให้ล้างมือก่อนเตรียมอาหารทุกครั้งและล้างทุกครั้งเมื่อทำอาหารชนิดใหม่
  • อุปกรณ์ที่ใช้เตรียมอาหารต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหารใหม่
  • ห้ามใช้ช้อนที่ชิมอาหารคนอาหาร
  • อย่าให้อาหารที่เตรียมไว้ปนเลือดวัวหรือเลือดหมู
  • ให้ล้างเขียงทุกครั้งที่จะทำอาหารชนิดใหม่
  • ให้ล้างผักสดให้สะอาดและทำให้สุก
  • ไม่ต้องแยกช้อน จาน ให้ทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่ก็พอ
  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่ควรเลียน้ำหรือจานระหว่างปรุงอาหาร
  • อาหารร้อนต้องรับประทานขณะร้อน อาหารเย็นต้องรับประทานขณะเย็น

การป้องกันตัวเอง

 

          ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV อาจจะนำเชื้อโรคมาติดผู้ดูแลได้ ท่านจะต้องรู้จักป้องกันตัวเอง ตัวอย่างเช่นหากผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีอาการท้องร่วงผู้ดูแลต้องสวมถุงมือขณะทำความสะอาดและให้ล้างมือเมื่อทำ ความสะอาดเสร็จ ถุงมือใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผู้ที่ติดเชื้อ HIV หากมีอาการไอเกินกว่า 1 สัปดาห์ ต้องไปพบแพทย์ เพราะอาจจะเป็น วัณโรค หากผู้ป่วยเป็นวัณโรค สมาชิกในครอบครัวควรได้รับการตรวจว่าเป็นวัณโรคหรือไม่ แม้ว่าจะไม่มีอาการไอ ผู้ป่วยที่มีตัวเหลืองตาเหลืองต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นตับอักเสบหรือ ไม่ หากเป็นตับอักเสบ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่อยู่ในบ้านเดียวกัน ควรจะได้รับวัคซีน
               
ถุงมือ

เนื่องจากเชื้อ HIV มีอยู่ในเลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะและอุจาระของผู้ป่วยผู้ดูแลต้องระวังการสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้โดย เฉพาะผู้ที่มีแผล การดูแลสิ่งเหล่านี้ต้องสวมถุงมือทุกครั้ง ถุงมือที่ใช้มีสองชนิดคือ ถุงมือที่ใช้ทางการแพทย์ใช้ในกรณีต้องสัมผัสกับสิ่งที่มีเชื้ออยู่ ใช้แล้วทิ้งเลย อีกชนิดหนึ่งคือถุงมือที่ใช้ตามบ้านไว้ใส่สำหรับทำความสะอาดบ้าน
               
การจัดการของเสีย

ของเสียของผู้ติดเชื้อ HIV ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง ปัสสาวะ อุจาระ อาเจียนควรจะเททิ้งในโถส้วมและกดล้างออกให้หมด แต่ต้องระวังอย่าให้มีการกระเด็นเข้าตาหรือปาก สำหรับผ้าอ้อม ผ้าอนามัย ผ้าทำแผลควรจะใส่ถุงพลาสติกและปิดให้สนิทแล้วทิ้งในช่องขยะมีพิษอย่าลืมสวม ถุงมือ
               
เมื่อผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย

เมื่อโรคดำเนินมาถึงระยะสุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการเสียชีวิต ผู้ดูแลสามารถสังเกตสิ่งที่จะเกิดต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยจะนอนทั้งวันปลูกไม่ค่อยตื่น ให้พยายามพูดคุยหรือดูแลขณะที่ตื่น
  • ผู้ป่วยจะจำตัวเองไม่ได้ ไม่รู้วันเดือน สถานที่ ให้บอกผู้ป่วยถึงวัน เวลา และบุคคล
  • ผู้ป่วยจะควบคุมปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ ต้องทำความสะอาดโดยใส่ถุงมือ โรยแป้ง
  • ผิวจะเย็นและมีสีคล้ำขึ้นเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดลดลง ต้องห่มผ้าให้อบอุ่น
  • ผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องการได้ยินและการมองเห็น
  • ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย ดึงผ้าคลุมเตียง ต้องพูดปลอบและให้ความมั่นใจว่ามีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา
  • ผู้ป่วยจะไม่ดื่มน้ำและรับประทานอาหาร ต้องให้ใช้ผ้าเช็ดริมฝีปากเพื่อให้ปากชื้น
  • ผู้ป่วยอาจจะไม่ปัสสาวะ
  • หายใจเสียงดัง เนื่องจากมีเสมหะอยู่ในคอ การดูแลต้องให้ผู้ป่วยนอนหัวสูง หรือนอนตะแคง ถ้าผู้ป่วยพอกลืนได้ให้น้ำแข็งชิ้นเล็กๆ